สิ่งหนึ่งที่ทั่วโลกต้องยอมรับคือชุมชนชาว LGBT มักจะมีอิทธิพลอย่างสูง และเป็นผู้ขับเคลื่อนวงการแฟชั่นและความงามของทั่วโลก แต่เราอาจไม่ได้มีการวิเคราะห์เรื่องนี้อย่างจริงจัง บทความนี้จึงนำเสนอความเหมือนและความต่างของอุตสาหกรรมแฟชั่นและวัฒนธรรม LGBT
หรือแฟชั่นนั้นอยุ่ในวิถีของ LGBT อยู่แล้ว ?
เมื่อคุณเห็นการเดินแบบบนรันเวย์แฟชั่น คุณเคยคิดไหมว่าใครจะสวมใส่เสื้อผ้าเหล่านี้? เพราะเสื้อผ้าที่แสดงอยู่บนรันเวย์ บ่อยครั้งที่ดูแปลกหรือเกินจริง แต่แฟชั่นก็คืองานศิลปะ ไม่ใช่แค่สวมใส่ แต่เพื่อแสดงออกถึงบางสิ่งบางอย่าง ทำนองเดียวกัน ชาวเกย์เองก็ต้องเรียนรู้เรื่องการแสดงออกถึงพฤติกรรมรักร่วมเพศที่ละเอียดลึกซึ้ง พวกเขาต้องสวมใส่เสื้อผ้าบางประเภทหรือใช้ผลิตภัณฑ์บางอย่างเพื่อแสดงตัวตน ตัวอย่างเช่น การที่ผู้หญิงที่เป็นเลสเบี้ยนสวมเสื้อผ้าของผู้ชายและสามารถดึงดูดเลสเบี้ยนคนอื่นๆ ได้ หรือผู้ชายที่เป็นเกย์จะกันคิ้วหรือสวมรองเท้าส้นสูง เหล่านี้เป็นสัญญาณของการยอมรับซึ่งกันและกันของสมาชิกในชุมชน ดังนั้น แฟชั่นและสไตล์
จึงเชื่อมโยงกับโลกของเพศทางเลือก จึงไม่น่าแปลกใจที่นักออกแบบระดับโลกมากมายล้วนเป็นเกย์หรือไบเซ็กชวล อาทิ Christian Dior, Cristobal Balenciaga, Yves Saint Laurent, Calvin Klein, Gianni Versace ฯลฯ
สไตล์ของผู้หญิงในชุมชนเลสเบี้ยน
ขบวนการเพื่อสิทธิเกย์ยังทำให้แฟชั่นมีอิสระมากขึ้นด้วย การแต่งกายแบบเคร่งครัดถูกโยนทิ้งไป ผู้หญิง เลสเบี้ยน และเสตรท(รักต่างเพศ) มีสิทธิ์สวมกางเกงได้ สตรีนิยมหัวรุนแรงช่วยให้ผู้หญิงไม่ต้องแต่งหน้ามากเกินไป หรือต้องโกนขนขา หรือต้องแต่งตัวแบบผู้หญิงเกินไป สิ่งนี้ทำให้ความแตกต่างระหว่างเลสเบี้ยนกับผู้หญิงต่างเพศน้อยลงไปอีก ทุกวันนี้ใครจะใส่อะไรก็ได้ตามใจชอบ แน่นอนว่าการเป็นเลสเบี้ยนไม่ได้หมายความว่า คุณสามารถใส่แต่เสื้อผ้าผู้ชายเท่านั้น หากคุณต้องการแสดงความเป็นผู้หญิงคุณก็สามารถทำได้ มีเสื้อผ้าและเครื่องประดับมากมายที่ตอบสนองต่อความต้องการของคุณ แม้แต่ถ้าคุณชอบสไตล์แบบทรานส์เกนเดอร์หรือแดร็กควีน
ก็มีให้เลือกเช่นกัน
การปฏิวัติวงการแฟชั่นสุภาพบุรุษ
จากทศวรรษที่ 1960 ความสัมพันธ์ระหว่างแฟชั่นชายและชาว LGBT เริ่มลดลง ผู้ชายเริ่มลงทุนในรูปแบบและรูปลักษณ์ที่แสดงความเป็นชายมากขึ้น และไม่ถือว่าเป็นลักษณะแบบเกย์อีกต่อไป แต่ว่านักออกแบบที่มีอิทธิพลมากที่สุดยังเป็นเกย์ สิ่งนี้นำไปสู่แฟชั่นของผู้ชายที่ได้รับแรงบันดาลใจจากบรรยากาศแบบเกย์ที่นักออกแบบเหล่านั้นมักแวะเวียนมา ทั้งในระดับท้องถนนและในคลับเกย์ เป็นเรื่องปกติที่ผู้ชายจะสนใจผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกาย เสื้อผ้า และรูปลักษณ์โดยรวม ด้วยวิธีนี้ ความแตกต่างระหว่างสไตล์แฟชั่นเกย์และรักต่างเพศก็ลดลงเช่นกัน เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นกับคู่ผู้หญิงของพวกเขา คนดังอย่าง "เดวิด เบ็คแฮม" ถูกเรียกว่าเป็นเมโทรเซ็กชวล ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีของชายยุคใหม่ในยุค 2000
ยุคหลังสมัยใหม่ได้นำเสรีภาพมากมายมาสู่ผู้คน ทำให้ทุกวันนี้เป็นเรื่องยากที่จะแยกแยะความแตกต่างระหว่างเกย์ได้จากสไตล์แฟชั่น แต่ไม่ว่าคุณจะมีรสนิยมทางเพศแบบไหน เราก็สนับสนุนให้คุณมีสไตล์ที่คุณต้องการ แม้เราจะบอกว่า เกย์และแฟชั่นนั้นเข้ากันได้ดีแต่ก็ไม่มีกฎเกณฑ์แน่นอนใด ๆ เมื่อพูดถึงเรื่องสไตล์ ดังนั้น จงใช้ประโยชน์จากมัน
https://queer-voices.com/fashion-industry-and-queer-culture-the-similarities-and-differences/