อาการปวดกล้ามเนื้อ มักจะเกิดขึ้นกับผู้ที่ใช้แรงในการทำงานหนัก หรือออกกำลังกายหนัก หรืออาจเกิดจากการบาดเจ็บ หรือการติดเชื้อบางอย่าง แต่โดยรวมแล้ว สาเหตุของการปวดกล้ามเนื้ออาจเกิดได้จาก :
1.ความเครียด
ความเครียดทำให้ร่างกายต่อสู้กับโรคได้ยากขึ้น คนที่ไม่สบายและมีความเครียดอาจทำให้ปวดกล้ามเนื้อ เพราะร่างกายต้องต่อสู้กับการอักเสบหรือติดเชื้อ ซึ่งหากมีความเครียดแล้วเกิดอาการเช่น ใจสั่นหรืออัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น, ความดันโลหิตสูง,ปวดหัว,มือสั่น,เจ็บหน้าอก หรือ หายใจไม่ออก แสดงว่าร่างกายเกิดความเครียดเพิ่มสูง ควรเรียนรู้เทคนิคการผ่อนคลายและพาตัวเองออกไปจากสถานการณ์นั้นก่อน
2.ขาดสารอาหาร
สารอาหารบางประเภทมีความสำคัญต่อกล้ามเนื้อ เช่น วิตามินดี ซึ่งช่วยในการดูดซึมแคลเซียม ทำให้กล้ามเมนื้อทำงานอย่างถูกต้อง หากขาดวิตามินดี จะทำให้แคลเซียมในเลือดต่ำ ซึ่งส่งผลต่อกระดูกและกล้ามเนื้อ
3.ดื่มน้ำน้อย
คนที่ขาดน้ำมักมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ การดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน จึงมีความสำคัญต่อกล้ามเนื้อเช่นกัน โดยทั่วไปแต่ละคนควรดื่มน้ำให้ได้ 6-8 แก้วต่อวัน หากอากาศร้อนหรือเหงื่อออกมาก ควรดื่มเพิ่มขึ้น
4.เคล็ดขัดยอกและความเครียด
ความเครียด ความเคล็ดขัดยอก และการบาดเจ็บอื่น ๆ อาจทำให้ปวดกล้ามเนื้อและรู้สึกไม่สบาย หากเกิดอาการ ควรจำกัดการเคลื่อนไหว ทานยาแก้ปวด ประคบร้อน และพักผ่อนให้เพียงพอ
5.นอนหลับไม่เพียงพอ
การนอนหลับอย่างเพียงพอจะทำให้ร่างกายได้พักผ่อนและฟื้นตัว หากอดนอน อาจเกิดความปวดเมื่อยในกล้ามเนื้อ เกิดความเฉื่อยชาและเชื่องช้า ส่งผลต่อการทำงานในชีวิตประจำวัน
6.ออกกำลังกายมากเกินไป
การออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้ามากเกินไป อาจทำให้กล้ามเนื้อแข็งเกร็งและเจ็บได้ นอกจากนี้ การออกกำลังกายกับการปวดกล้ามเนื้อยังสัมพันธ์กันจากปัจจัยต่อไป
7.การติดเชื้อ โรค และเงื่อนไขทางพันธุกรรม
มีโรคจำนวนหนึ่งที่สามารถส่งผลต่ออาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ได้แก่ โรคโลหิตจาง,โรคข้ออักเสบ,โรคอ่อนเพลียเรื้อรัง,claudication, dermatomyositis, ไข้หวัดใหญ่, fibromyalgia, โรคลูปัส,โรคไลม์ ,เส้นโลหิตตีบ(MS),ปอดบวม,mononucleosis
อาการปวดเมื่อยเหล่านี้ ส่วนใหญ่บรรเทาได้ด้วยการทานยา และการพักผ่อนให้เพียงพอ แต่หากเจ็บปวดมาก หรืออาการไม่ดีขึ้นเมื่อผ่านไปหลายวัน ควรไปพบแพทย์
https://www.medicalnewstoday.com/articles/322869#symptoms