สัญญาณเตือนปัญหาสุขภาพจิตของคุณและคนข้างกาย
สถานการณ์ปัจจุบันที่เรายังต้องดูแลตัวเองและครอบครัวทั้งจากโควิท-19 และจากปัญหาเศรษฐกิจ จึงดูเหมือนว่า ความเครียดจะเพิ่มขึ้นมากมายรอบตัว ต่อไปนี้คือข้อมูลด้านปัญหาสุขภาพจิตที่คุณควรรู้ เพื่อการดุแลตัวเองและคนรอบข้าง
1.ผู้หญิงมีแนวโน้มจะประสบปัญหาสุขภาพจิตได้มากกว่าผู้ชาย และมีแนวโน้มที่จะฆ่าตัวตายด้วย แต่ผู้ชายมีแนวโน้มที่จะ "เสียชีวิต"จากการฆ่าตัวตายมากกว่าผู้หญิงถึง 3.5 เท่า เพราะมักจะเลือกวิธีร้ายแรงเช่น ปืน กระโดดตึก
2.ปัญหาของผู้ชายมักจะเกิดจากความคาดหวังและบทบาททางสังคม เช่น ต้องมีความเป็นชาย,ต้องเป็นผู้นำครอบครัว,ต้องพึ่งตนเองได้, ต้องไม่อ่อนไหวหรือแสดงความอ่อนแอ ฯลฯ ทำให้ไม่ยอมรับการบำบัดรักษา
3.ผู้ชายมีโอกาสเข้าถึงความช่วยเหลือน้อยกว่าผู้หญิง เนื่องจากบรรทัดฐานทางสังคม และความลังเล มีการสำรวจในสหรัฐฯ พบว่า มีผู้ชายเพียง 1 ใน 3 คนที่ใช้ยาเพื่อรักษาอาการซึมเศร้า และเพียง 1 ใน 4 คนที่จะพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต
4.สัญญาณเตือนด้านสุขภาพจิตที่ควรเฝ้าระวังทั้งต่อตนเองและคนรอบข้าง หากมีพฤติกรรมเหล่านี้บ่อย ๆ คือสัญญาณเตือนที่ควรไปพบแพทย์
- ความก้าวร้าว ความโกรธ และความหงุดหงิด
- อารมณ์เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วบ่อยครั้ง
- ความอยากอาหารเปลี่ยนไปหรือนิสัยการนอน
- โฟกัสต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ยาก
- กระสับกระส่าย มีความหวาดหวั่น ไม่มั่นคง
- การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก
- การใช้ยาในทางที่ผิด
- เข้าร่วมกิจกรรมเสี่ยงภัย เช่น การใช้ยาเสพติด
- รู้สึกเศร้า สิ้นหวัง เฉยชา
- มีอาการปวดเมื่อยหรือมีอาการทางกายอื่น ๆ โดยไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน
- มีความคิดหรือพฤติกรรม ที่ชอบครอบงำหรือบังคับคนอื่น
- มีความคิดหรือกระทำการที่ก่อให้เกิดความกังวลต่อผู้อื่นหรือส่งผลเสียต่องาน สังคม หรือชีวิตครอบครัว
- คิดหรือพยายามฆ่าตัวตาย
5.ผู้ชายที่มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย มีอยู่หลายกลุ่ม ส่วนใหญ่แล้วเป็นคนที่ประสบกับปัญหาชีวิตและปัญหาสุขภาพกาย-ใจ มาก่อนแล้ว ทั้งผู้ที่มีประสบกับบาดแผลความเครียด(PSTD),การตกงาน,มีปัญหาซึมเศร้าจากปัญหาชีวิตสมรส,มีปัญหาด้านกฎหมายหรือการเงิน,มีปัญหาจากการใช้ยาเสพติดและแอลกอฮอล์ รวมถึง ปัญหาอื่น ๆ เช่นการเจ็บป่วยหรือเสียชีวิตของคนในครอบครัว ความขัดแย้งกับครอบครัว ฯลฯ
6.ปัญหาสุขภาพจิตที่พบได้บ่อยในผู้ชาย ได้แก่
- ภาวะซึมเศร้า(Depression) แม้ว่าภาวะนี้จะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายถึง 2 เท่า แต่ผู้ชายก็เข้าถึงการรักษาน้อยกว่าผู้หญิงมาก
- โรควิตกกังวล(Anxiety disorders) คือความรู้สึกที่กลัวและกังวลอย่างรุนแรงจนควบคุมไม่ได้และเป็นเช่นเดียวกับภาวะซึมเศร้า คือผู้หญิงเป็นมากกว่าผู้ชายแต่ผู้ชายมีโอกาสรักษาน้อยกว่า และโรคนี้มักพบในผู้เป็นภาวะซึมเศร้าด้วย
- โรคจิตเภท(Schizophrenia)คือภาวะทางจิตที่ผู้ป่วยจะประสบกับภาพหลอน ความหลงผิดและวิธีคิดที่ไม่เป็นระเบียบรูปแบบต่าง ๆ และมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตและความสัมพันธ์กับสังคม ผู้ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคจิตเภทเมื่ออายุ 30 ปี จำนวน 90% เป็นเพศชาย
- บาดแผลความเครียด(PSTD) เป็นภาวะที่ประสบการณ์กระทบกระเทือนจิตใจยังส่งผลต่อชีวิตปัจจุบัน โดยผู้ชายประมาณ 60% ประสบเหตุการณ์กระทบกระเทือนจิตใจครั้งหนึ่งในชีวิตโดยอาจเป็นอุบัติเหตุ,ถูกทำร้ายร่างกาย,การต่อสู้,ประสบภัยพิบัติ หรือพบเห็นการเสียชีวิตหรือบาดเจ็บ ขณะที่ผู้หญิงอาจจะประสบกับการล่วงละเมิดทางเพศในวัยเด็ก ดังนั้นแม้ผู้ชายจะมีความเสี่ยงสูงต่อภาวะนี้ แต่ผู้หญิงอาการของโรคจะพัฒนาไปได้มากกว่า
- การใช้สารเสพติดและแอลกฮอล์ ผู้ชายมีเปอร์เซ็นต์การใช้สารเสพติดและแอลกอฮอล์สูงกว่าผู้หญิง และมีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะช็อคหรือเสียชีวิตจากการใช้สารเสพติดด้วย
7.การรักษา ผู้ชายหลายคนอาจลังเลที่จะเข้ารับการบำบัดรักษา แต่ขั้นตอนเหล่านี้เป็นตัวเลือกที่อาจทำให้ผู้ป่วยสบายใจมากขึ้น
- (1)จิตบำบัด ช่วยเปลี่ยนความคิดเชิงลบและพฤติกรรมที่เสี่ยง รวมทั้งสร้างความเข้มแข็งให้พร้อมเผชิญปัญหาใหม่ ๆ
- (2)ยาตามที่แพทย์สั่ง เช่น ยากล่อมประสาท,ยาลดความวิตกกังวล,ยารักษาอาการทางจิต,ยานอนหลับ
- (3)การเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์ โดยการเปลี่ยนในเชิงบวกจะมีผลต่อสุขภาพจิตได้ เช่น กินอาหารที่สมดุล, นอนหลับให้เพียงพอ, ออกกำลังกายทุกวัน, จัดการความเครียดด้วยโยคะ หรือการทำสมาธิ,จำกัดหรือหลีกเลี่ยงการใช้แอลกอฮอล์และยาเสพติด
- (4)เข้าร่วมกลุ่มสนับสนุนหรือให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม ซึ่งจะมีประโยชน์มาก
- (5)การป้องกัน โดยการสื่อสารกับครอบครัวและเพื่อนฝูง,แสวงหาการรักษาทันที,เรียนรู้ที่จะเผชิญกับปัญหา,เลือกดำเนินชีวิตเชิงบวก และพบนักบำบัด
8.วิธีช่วยเหลือ หากผู้ป่วยเป็นคนที่คุณรู้จักและพบว่า เขาอาจกำลังประสบปัญหา คุณควรพูดคุยและถามถึงความรู้สึก โดยเฉพาะหากเขาเพิ่งประสบปัญหาชีวิต และเสนอให้เขาไปพบกับแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตที่จะสามารถช่วยพวกเขาได้ หากเขามีความเสี่ยงที่จะฆ่าตัวตาย อย่าปล่อยเขาไว้ตามลำพัง และควรติดต่อหน่วยงาน เช่น สายด่วนสุขภาพจิต 1323 (ตลอด 24 ชั่วโมง)
https://www.medicalnewstoday.com/articles/mens-mental-health#summary